Home / Product knowledge

 

เช็คด่วน!!! รถที่ใช้อยู่ มีอาการ “เกียร์สลิป หรือเร่งเครื่อง แต่รถไม่วิ่ง” หรือไม่ ?
นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือน สายพานเกียร์ CVT สึกหรอ ชำรุด เพราะปล่อยให้น้ำมันเกียร์เสื่อม…
________________
เกียร์ CVT มีระบบการทำงาน ที่อาศัยสายพาน ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นแบบเหล็กหรือ Steel Belt ทำงานร่วมกับพลูเลย์ 2 ตัว เพื่อให้สายพานสามารถส่งกำลังให้เปลี่ยนอัตราทดได้ 
ในระหว่างที่ตัวสายพาน กับพลูเลย์ทำงาน ขอบด้านข้างตัวสายพาน หรือที่เรียกว่า Elements จะเป็นตัวสร้างความฝืดกับพลูเลย์ จึงเกิดการเสียดสีกันตลอดเวลา จำเป็นต้องมีน้ำมันเกียร์ สร้างฟิล์มเข้าไปลดการเสียดสี เพื่อป้องกันการสึกหรอ 
________________
…เมื่อไหร่ที่ปล่อยให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพ ประสิทธิภาพการหล่อลื่นจะน้อยลง และน้ำมันเกียร์อาจเกิดความร้อนสูง ทำให้ฟิล์มน้ำมันเสียหาย ไม่สามารถป้องกันการสึกหรอของตัวสายพานได้ 
.
ขอบด้านข้างตัวสายพาน จะถูกเสียดสีกับตัวพลูเลย์อย่างรุนแรง จนหน้าสัมผัสที่เป็นโลหะสึกหรอ จึงทำให้ประสิทธิภาพการส่งกำลังน้อยลง จึงเกิดปัญหา รอบขึ้น แต่รถไม่วิ่ง หรือเกียร์สลิปตามมา 
.
ปัญหายังไม่หมดเพียงเท่านี้! หากหน้าสัมผัสของขอบด้านข้างตัวสายพานสึกหมด ตัวที่จะถูกเสียดสีกับพลูเลย์แทน คือ Laminated steel bands (แผ่นโลหะที่ซ้อนกัน อยู่ติดกับขอบด้านข้างตัวสายพาน) จะถูกเสียดสีจนสึกหรอสูง จนขาดได้ง่าย 
.
ปัญหาของสายพานสึกหรอ ไม่สามารถทำการซ่อมได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนสายพานใหม่ พร้อมทั้งเช็คตัวพลูเลย์ ส่วนที่เสียดสีกับขอบด้านข้างตัวสายพาน และ Laminated steel bands ว่ามีการสึกหรอตามไปด้วยหรือไม่ 
________________
สายพานสึกหรอ ปัญหาที่เลี่ยงได้ หากเลือกน้ำมันเกียร์ CVTF ที่มีคุณภาพ และดูแลน้ำมันเกียร์สม่ำเสมอ
เกียร์ CVT ต้องมีการดูแลด้วยน้ำมันเกียร์ CVTF ที่มีคุณสมบัติ รักษาค่าแรงเสียดทานให้คงระดับสูง เพื่อป้องกันการลื่นไถลระหว่างสายพานกับพลูเลย์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนสูง และสายพานกับพลูเลย์สึกหรอเร็ว
ALPHA’S แนะนำ น้ำมันเกียร์ ALPHA’S CVTF SYNTHETIC คุณสมบัติเน้นๆ ตอบโจทย์เกียร์ CVT 
.
ป้องกันน้ำมันเกียร์เสื่อม ด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์สม่ำเสมอ หรือดีสุดควรเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 20,000 กม. และสลับกับการฟอกเกียร์ทุกๆ 40,000 กม. จะช่วยให้น้ำมันเกียร์สะอาด มีประสิทธิภาพในการหล่อลื่น และปกป้องระบบเกียร์เต็มที่