Home / Product knowledge

 คำตอบคือ เลือกจากค่า SAE และ มาตรฐาน API เพื่อแน่ใจได้ว่าน้ำมันเครื่องมีความเหมาะสมกับประเภทของรถยนต์และการใช้งาน

แล้ว SAE และ API คืออะไร?

SAE ย่อมาจาก Society of Automotive Engineering โดยจะใช้การวัดค่าความหนืดของน้ำมัน (ความข้นใส) เป็นหลัก โดยปัจจุบัน น้ำมันเครื่องในตลาด ส่วนใหญ่ จะเป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม (Multi Grade) ซึ่งค่ามาตรฐานแบ่งจากตัวเลข 2 ชุด แสดงอยู่บนแกลลอนน้ำมันเครื่อง ยกตัวอย่างเช่น 5W30, 10W40 เป็นต้น

‘เลขชุดหน้า’ คือ ความสามารถในการคงความข้นใส การไหล ในอุณภูมิที่ต่ำ หรือติดลบ บอกถึงการวัดค่ามาตรฐานสำหรับน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับรถยนต์ในเขตหนาว ด้วยสัญลักษณ์ W (Winter) เช่น 0W, 5W, 10W, 15W, 20W แน่นอนว่า 0W เป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์ในเมืองหนาวที่สุด เพราะน้ำมันยังคงสภาพการไหล แม้ในอุณหภูมิติดลบ

‘เลขชุดหลัง’ คือ เบอร์ของน้ำมันเครื่องที่ระบุค่าความหนืด บอกถึงการคงสภาพความใส หรือการไหลอุณหภูมิที่สูง ตัวเลขมากความหนืดยิ่งมาก ในอุณหภูมิที่สูงขณะเครื่องยนต์ทำงาน มีตั้งแต่ 16 20 30 40 50 ไปจนถึง 60 ซึ่งรถในประเทศไทยแนะนำ ค่าความหนืดที่ 20 สำหรับ Eco Car, 30 สำหรับรถยนต์ทั่วไป และ 40 ขึ้นไป สำหรับรถใช้งานหนัก หรือรถที่มีการใช้งานเกิน 100,000 กม.

API มาตรฐานการชี้วัดคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ได้รับ ‘มาตรฐานอเมริกา’ ระบุว่าสามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ ประเภท ‘เบนซิน’ หรือ ‘ดีเซล’

API เครื่องยนต์ ‘เบนซิน’ ใช้ตัวย่อ S แบ่งตามเกรดน้ำมันเครื่อง ไล่ตั้งแต่ SA SB ไปจนถึง SM SN และ SP ในอนาคต

API เครื่องยนต์ ‘ดีเซล’ ใช้ตัวย่อ C เช่น CF-4, CJ-4, CK-4 เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐาน ACEA บอกคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ได้รับ ‘มาตรฐานยุโรป’ และ JASO คือ บอกคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ได้รับ ‘มาตรฐานญี่ปุ่น’

โดยผลิตภัณฑ์ทุกตัวของ Repsol ได้ผ่านการค้นคว้าวิจัย และพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นเวลาต่อเนื่องจาก Repsol Technology Centre ผ่านการรับรองจากทุกสถาบัน โดยเฉพาะ API Donut มาตรฐานที่ไม่ใช่ใครๆ ก็มี ซึ่งเราจะได้มาพูดถึงกันในโอกาสต่อไป