Home / Product knowledge

รถยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถกระบะ มีเกียร์ที่นิยมอยู่ 2 แบบคือ เกียร์ธรรมดา และ เกียร์อัตโนมัติ แต่รู้หรือไม่ว่าเกียร์แต่ละแบบมีกลไกการทำงานและวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน ‼

เกียร์ธรรมดาหรือที่หลายคนเรียกว่า"เกียร์กระปุก" จะมีชุดคลัตช์เป็นตัวตัดหรือต่อกำลังจากเครื่องยนต์ เมื่อผู้ขับจะเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ [ระดับเกียร์ 1 2 3 4 5 R] ต้องเปลี่ยนผ่านคันเกียร์ เหยียบและค่อย ๆ ปล่อยแป้นคลัตช์เพื่อไม่ให้เครื่องดับ

เกียร์อัตโนมัติ การเปลี่ยนเกียร์จะง่ายกว่าเกียร์ธรรมดาเพราะไม่ต้องเหยียบคลัตช์เวลาเปลี่ยนเกียร์ [มีตำแหน่ง P, R, N, D, L,S หรือตามผู้ผลิต] ซึ่งเกียร์อัตโนมัติจะแบ่งเป็น

☑ เกียร์อัตโนมัติ DCT: การทำงานคล้ายกับเกียร์ธรรมดา มีคลัตช์ 2 ชุดสลับทำงานต่อกัน ชุดแรกเข้าเกียร์ 1, 3, 5, 7 ส่วนชุดที่สองเกียร์ 2, 4 ,6 [อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3l0T6K1]

☑ เกียร์อัตโนมัติ AT: ในการทำงานจะใช้เฟืองเหล็กขบเหล็กและมีทอร์คคอนเวอร์เตอร์เป็นตัวตัดและต่อกำลังจากเครื่องยนต์ไประบบเกียร์

☑ เกียร์อัตโนมัติ CVT: ทำงานแบบสายพานพาดกับพูลเลย์ มีระบบส่งกำลังแปรผันที่ต่อเนื่อง ต่างจากเกียร์อัตโนมัติดั้งเดิมที่ใช้ชุดเฟืองอัตราทดแตกต่างกันเป็นกลไกหลัก [เกียร์อัตโนมัติ AT และ CVT อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3t30cQY ]

✔ การดูแลรักษาเกียร์ธรรมดา VS เกียร์อัตโนมัติ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน…

เกียร์ธรรมดา

1.) เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะการใช้งาน เกียร์ธรรมดาควรเปลี่ยนทุก ๆ 20,000 กม.

2.) หากขับรถลุยน้ำบ่อย ๆ ควรตรวจสอบน้ำมันเกียร์ทุกครั้ง เพราะอาจมีน้ำ,สิ่งสกปรกเข้าไปผสมในน้ำมันเกียร์และอาจส่งผลให้ระบบเกียร์มีปัญหาได้

3.) ตรวจสอบซีลยาง รวมถึงซีลอ่างน้ำมันเครื่องว่ามีรอยรั่วหรือไม่ หากพบว่ามันรอยรั่วให้รีบแก้ไขโดยทันที

เกียร์อัตโนมัติ

1.) ห้ามคิกดาวน์บ่อย: คิกดาวน์ เหยียบคันเร่งจนมิด หรือเกือบจะมิดเพื่อเร่งเวลาที่ต้องการแซง ไม่ควรทำบ่อย ๆ เนื่องจากเกียร์ได้รับแรงบิดมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ทำให้ชุดเกียร์ได้รับความเสียหายและอายุการใช้งานของเกียร์สั้นลง

2.) จอดทางลาดชันให้ใช้เบรกมือ: เมื่อต้องจอดบนทางที่มีความลาดชัน วิธีที่ถูกต้องคือหลังจากใส่เกียร์ P แล้วต้องใช้เบรกมือด้วยเพื่อไม่ให้สลักเกียร์รับน้ำหนักมากเกินไป

3.) เมื่อรถวิ่งอย่าปล่อยเกียร์ว่าง: การเข้าเกียร์ N ขณะที่รถวิ่งทำให้น้ำมันเกียร์ภายในห้องเกียร์หยุดไหลเวียน แต่เกียร์กำลังทำงานอยู่ ส่งผลให้เกียร์เกิดความร้อนสูงทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพได้

4.) เปลี่ยนน้ำมันเกียร์เมื่อครบระยะทุกครั้ง: Alpha’s แนะนำควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร หรือ 1 ปี ฟอกเกียร์กับ Alpha’s ทุก ๆ 40,000 กม. หรือ 2 ปี เพื่อประสิทธิภาพทีดี่ของเกียร์ และช่วยยืดอายุการใช้งานของเกียร์ได้อีกด้วย